เมนู

ประกอบด้วยความผ่องใส เหมือนผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียวฉะนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้น ย่อมยังใจให้เลื่อมใสด้วยดี เพราะประกอบด้วย
ศรัทธาที่เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส (และ) เพราะสงบระงับความกำเริบแห่ง
วิตกและวิจารเสียได้ เพราะเหตุแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สมฺป-
สาทนํ. ก็ในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบสัมพันธ์เฉพาะบทอย่างนี้ว่า สมฺปสาทนํ
เจตโส (เป็นความผ่องใสแห่งใจ). แต่ในอรรถวิกัปต้น พึงประกอบบทว่า
เจตโส นั่น เข้ากับ เอโกทิภาวะ.

[อรรถาธิบาย เอโกทิภาวศัพท์]


ในบทว่า เอโกทิภาวํ นั้น มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- สมาธิ
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. จริงอยู่
แม้คนที่ประเสริฐที่สุด เข้าก็เรียกว่า เป็นเอก ในโลก. อีกอย่างหนึ่ง จะกล่าวว่า
สมาธิที่เว้นจากวิตกและวิจาร ชื่อว่าเป็นธรรมเอก คือไม่สหาย ดังนี้บ้าง
ก็ควร อีกบรรยายหนึ่ง สมาธิ ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรม
ให้ผุดขึ้น อธิบายว่า ให้ตั้งขึ้น, สมาธินั้น เป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ
และผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นั่น เป็นชื่อ
ของสมาธิ. ทุติยฌาน ย่อมยังสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ ดังกล่าวนี้ให้เกิด
คือให้เจริญ. เหตุนั้น ทุติยฌานนี้ จึงชื่อว่า เอโกทิภาพ. ก็เพราะสมาธิที่
ชื่อว่า เอโกทิ นี้นั้นย่อมมีแก่ใจ หามีแก่สัตว์ แก่ชีวะไม่ ฉะนั้น ทุติยฌานนั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตโส เอโกทิภาวํ (เป็นเอโกทิภาพแห่งใจ).
มีคำถามว่า ก็ศรัทธานี้ และสมาธิที่มีชื่อว่าเอโกทินี้มีอยู่ในปฐมฌาน
มิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ทุติยฌานนี้เท่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส และว่า เป็นเอโกทิภาพเล่า ?

ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- ด้วยว่า ปฐมฌานโน้น ชื่อว่า ยังไม่
ผ่องใสดี เพราะวิตกและวิจารยังกำเริบได้ ดุจน้ำที่ขุ่นเพราะคลื่นและระลอก
ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น แม้เมื่อศรัทธามีอยู่ ก็พึงทราบว่า ปฐมฌานนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส. อนึ่ง เพราะความที่
ปฐมฌานยังไม่ผ่องใสด้วยดีนั่นแล แม้สมาธิในปฐมฌานนี้ ก็ยังหาเป็นธรรม
ปรากฏด้วยดีไม่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ปฐมฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
มิได้ตรัสว่าเป็นเอโกทิภาพบ้าง. ส่วนศรัทธามีกำลังได้โอกาสแล้ว เพราะใน
ฌานนี้ไม่มีเหตุเครื่องกังวลคือวิตกวิจาร แม้สมาธิก็ปรากฏ เพราะกลับได้สหาย
คือศรัทธามีกำลัง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทุติยฌานนี้เท่านั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงตรัสไว้อย่างนี้. แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ไว้เพียงเท่านี้นั่นแลว่า ที่ชื่อว่า สัมปสาทนะ นั้น ได้แก่ศรัทธา ความเชื่อถือ
ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ที่ชื่อว่า เจตโส เอโกทิภาวะ นั้น
ได้แก่ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ1 ดังนี้. ก็อรรถวรรณนา
นี้รวมกัปปาฐะในคัมภีร์วิภังค์นั่น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนั้น ย่อม
ไม่ผิด คือย่อมเทียบเคียง และเสมอกันได้โดยแท้ ฉันใด บัณฑิต พึงทราบ
อรรถวรรณนานี้ ฉันนั้น.

[อรรถาธิบายทุติฌานไม่มีวิตกและวิจารเพราะสงบไปแล้ว]


ในคำว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ทุติยฌานชื่อว่า
ไม่มีวิตก เพราะอรรถว่า วิตกไม่มีในทุติยฌานนี้ หรือแก่ทุติยฌานนี้ เพราะ
ละวิตกได้ด้วยภาวนา. ทุติยฌาน ชื่อว่าไม่มีวิจารก็โดยนัยนี้แล. แม้ในคัมภีร์
วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้แล้วว่า วิตกนี้และวิจารนี้ สงบ ระงับ
เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศ
ได้ด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุด
ปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยประการ2 ฉะนี้.
1 - 2 อภิ. วิ. 35 / 348.